เมนู

ชีวิตินทรีย์ ให้ตั้งขึ้นด้วยเจตนาใด เจตนานั้น ชื่อว่า วธกเจตนา ท่านเรียกว่า
ปาณาติบาต (เจตนาธรรมเป็นเหตุล้างผลาญชีวิตสัตว์มีปราณ). บุคคลผู้พร้อม
เพรียงด้วยเจตนาดังกล่าวแล้ว พึงเห็นว่า ผู้ล้างผลาญสัตว์มีปราณ.

[ประโยคแห่งการฆ่า 6 อย่าง]


ที่ชื่อว่า ประโยคแห่งปาณาติบาตนั้น ได้แก่ ประโยคแห่งปาณาติบาท
6 อย่าง คือ สาหัตถิกประโยค 1 อาณัตติกประโยค 1 นิสสัคคิย-
ประโยค 1 ถาวรประโยค 1 วิชชามยประโยค 1 อิทธิมยประโยค 1.

บรรดาประโยคเหล่านั้น การประหารด้วยกาย หรือของที่เนื่องด้วยกาย แห่ง
บุคคลผู้ฆ่าให้ตายเอง ชื่อว่า สาหัตถิกประโยค. การสั่งบังคับว่า ท่านจง
แทงหรือประหารให้ตาย ด้วยวิธีอย่างนั้น ของบุคคลผู้ใช้คนอื่น ชื่อว่า
อาณัตติกประโยค. การซัดเครื่องประหารมีลูกศร หอกยนต์และหินเป็นต้น
ไป ด้วยกาย หรือของที่เนืองด้วยกาย แห่งบุคคลผู้มุ่งหมายจะฆ่าบุคคลซึ่งอยู่
ในที่ไกล ชื่อว่า นิสสัคคิยประโยค. การขุดหลุมพรางวางกระดานหก วาง
(เครื่องประหาร) ไว้ใกล้ และการจัดยา (พิษ) แห่งบุคคลผู้มุ่งหมายจะฆ่า
ด้วยเครื่องมืออันไม่เคลื่อนที่ ชื่อว่า ถาวรประโยค. ประโยคแม้ทั้ง 8 นั้น
จักมีแจงโดยพิสดารในอรรถกถาแห่งบาลีข้างหน้านั่นแล. ส่วนวิชชามยประโยค
และอิทธิมยประโยค ไม่ได้มาในบาลี. พึงทราบประโยคทั้ง 2 นั้นอย่างนี้
ก็โดยสังเขป การร่ายมนต์เพื่อจะให้เขาตาย ชื่อว่า วิชชามยประโยค. แต่
ในอรรถกถาทั้งหลาย ท่านแสดงวิชชามยประโยคไว้อย่างนี้ว่า วิชชามยประโยค
เป็นไฉน ? พวกหมออาถรรพณ์ ย่อมประกอบอาถรรพณ์ เมื่อเมืองถูกล้อม
หรือเมื่อสงความเข้าประชิตกันย่อมก่อความจัญไร ความอุบาทว์ โรค ความไข้
ให้เกิดขึ้นในพวกปัจจามิตรผู้เป็นข้าศึก ย่อมทำให้เป็นโรคจุกเสียด ให้เป็น